การตีความในกฎหมายย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

อธิบายอย่างย่อ ไม่มีความผิด โดยไม่มีกฎหมาย ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย

การตีความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือการตีความกฎหมาย (Interpretation of Law) หมายถึง  การค้นหาความหมายของกฎหมายที่บัญญัติไว้และมีถ้อยคำที่ไม่ชัดเจน หรือกำกวม หรือมีได้หลายความหมาย หลายทาง เพื่อหยั่งทราบความหมายของบทบัญญัติตามกฎหมาย

ดังนั้น ถ้าหากกฎหมายที่บัญญัติมีความชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีการตีความ

ทั้งการตีความมีจุดประสงค์เพื่อให้ศาลไทยมีหลักเกณฑ์การตีความกฎหมายเป็นบรรทัดฐานเดียวกันหรือเพื่อที่จะนำกฎหมายนั้นไปใช้บังคับแก่กรณีที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

หลักเกณฑ์ในการตีความกฎหมายทั่วไปมี 2 ประการ คือ

1. การตีความกฎหมายโดยการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่

2. การตีความกฎหมายโดยอาศัยหลักการทางวิชาการ

การตีความจึงต้องพิจารณาประกอบไปด้วยกัน 2 ด้าน คือ

1. พิเคราะห์ตามตัวอักษร

2. พิเคราะห์ตามความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย

กฎหมายอ้างอิง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4

มาตรา 4  กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น ๆ

เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

Facebook Comments